คุณแม่ส่วนใหญ่ขณะตั้งครรภ์ยังต้องทำงานอยู่จนครบกำหนดคลอด การตั้งครรภ์ย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานอาจจะลดน้อยลง ลักษณะหน้าที่ในการทำงานเดิมอาจจะไม่เหมาะหรือเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้นายจ้างได้ประโยชน์ในการงานที่จ้างลดน้อยลง จนอาจถูกกลั่นแกล้งจากนายจ้าง ดังนั้นกฎหมาย จึงกำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 เพื่อให้คุณแม่ที่อยู่ในระยะเวลาการตั้งครรภ์ ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบในการทำงาน และได้ใช้สิทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ก. สิทธ์ในการทำงานล่วงเวลา กรณีที่คุณแม่มีครรภ์ท่านใดขยันอยากทำงานล่วงเวลาเพื่อเก็บเงินนั้น ทางกฎหมายสามารถทำงานล่วงเวลาได้ แต่ต้องทำงานในตำแหน่งที่ไม่อันตรายใช้แรงงานหนัก อาจจะเป็นงาน ผู้บริหาร งานวิชาการ งานธุรการ หรืองานเกี่ยวกับการเงินหรือบัญชี แคชเชียร์ ประชาสัมพันธ์ หรืองานที่ไม่ต้องใช้แรงงานทางร่างกาย เป็นต้น โดยนายจ้างจะต้องยินยอมตกลงให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้นทำงานล่วงเวลาในวันทำงานได้เท่าที่ไม่มีผลกระทบต่อ สุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์โดยได้รับความยินยอมก่อน แต่หากลักษณะงานเป็น งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน,งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ,งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกินสิบห้ากิโลกรัม, งานที่ทำในเรือ,งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ไม่ได้เพราะกฎหมายห้ามมิให้นายจ้างให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 4 ทุ่ม ถึงเวลา 6 โมงเช้า หรือทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด หรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่กล่าวมาข้างต้นไว้ ......
15 November, 2016 พนักงาน