Settaluck Legal | ถ้ารักกัน กิ๊กกันในที่ทำงาน ตามกฎหมายผิดหรือไม่?
16730
post-template-default,single,single-post,postid-16730,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-10.1.1,wpb-js-composer js-comp-ver-5.0.1,vc_responsive
 

ถ้ารักกัน กิ๊กกันในที่ทำงาน ตามกฎหมายผิดหรือไม่?

ถ้ารักกัน กิ๊กกันในที่ทำงาน ตามกฎหมายผิดหรือไม่?

สวัสดีครับ…ชาวมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย เดือนกุมภาพันธ์นี้ได้ฤกษ์เปิดตัวคอลัมส์ “กฎหมายไม่รู้ไม่ได้” เดือนแห่งความรัก เมื่อดอกรักผลิบาน ความรักบังเกิดขึ้นอยู่ในออฟฟิศ ท่ามกลางกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน หลายท่านอาจตกอยู่ในสถานการณ์ หวานอมขมกลืน เมื่อรักนั้นเป็นรักต้องห้าม ที่ควรหักห้ามใจ

อย่างไรก็ตาม “ความรัก” เป็นสิ่งสวยงามครับ เราห้ามความรักไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้…แต่เมื่อมันเกิดขึ้นมา แล้วนั้นจะทำอย่างไร ถ้ารักกัน กิ๊กกันในที่ทำงาน ตามกฎหมายผิดหรือไม่ในทัศนะของผม..ความรักเป็นเรื่องที่ดีครับ แต่ความรักควรจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องเหมาะสม และการเคารพซึ่งกฎระเบียบข้อบังคับของสถานที่ทำงาน หลายท่านอาจจะคิดว่า “มันจะเรื่องใหญ่อะไรนักหนา เมื่อคนรักกัน!! เรื่องแบบนี้มันคือเรื่องส่วนตัวของผม/ของฉัน!! ใครจะเอากฎเกณฑ์อะไรมาห้ามได้ มันใช่ความผิดที่ถึงกับต้องมาลงโทษร้ายแรงเอาผิดไล่ออกได้กันเลยหรือ ในเมื่อไม่ได้ไม่ได้นอกลู่นอกทางในเวลาทำงาน หรือมาใช้สถานที่ทำเรื่องเสื่อมเสียเลย อย่างงี้ครับ..เมื่อมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ตกลงปลงใจทำงาน ณ สถานประกอบการณ์ใดก็ตาม การเคารพซึ่งกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ที่มีไว้เพื่อปกครองและควบคุมความประพฤติพนักงานถือเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นสาระสำคัญเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยขององค์กร โดยส่วนใหญ่บริษัทจะมีการกำหนดกฎระเบียบข้อบังคับไปในทิศทางที่ว่า “พนักงานควรละเว้น หรือหลีกเลี่ยงการกระทำอันเป็นการก่อให้ เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง ทรัพย์สิน และผลประโยชน์ของบริษัท หรือการกระทำอันเป็นการขัดต่อศีลธรรมประเพณีอันดีงาม” ฉะนั้น ในกรณีที่ว่า เพื่อนที่ทำงานเล่นชู้กัน ทั้งที่มีครอบครัวอยู่แล้ว เราควรทำอย่างไรเรื่องนี้ทางศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน ได้วินิจฉัยตัดสินว่า “หากพนักงานหรือเพื่อนร่วมงานเป็นกิ๊กหรือเป็นชู้หรือกระทำการอันไม่สมควรในทางเสื่อมเสียด้านความสัมพันธ์ในเชิงชู้ระหว่างชายหญิงในที่ทำงานหรือนอกที่ทำงานโดยไม่รักษาเกียรติต่อสถานที่ทำงานอันเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง   นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2542”

“กฎหมาย ไม่รู้ ไม่ได้” นะครับ “ความรัก” เรื่องที่หลายท่านอาจมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว แต่หากเกิดขึ้นในกรณี กิ๊ก หรือชู้ ก็ถือได้ว่าเป็นการไม่รักษาเกียรติและประพฤติชั่ว ซึ่งเป็นการละเมิดต่อศีลธรรมอันดีอย่างร้ายแรง ในแง่ของการทำงานที่มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวระหว่างพนักงานเกิดขึ้น องค์กรโดยส่วนใหญ่จะถือเรื่องนี้ เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ “ร้ายแรง” เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่พนักงานรายอื่น ส่งผลต่อการบังคับบัญชา หากเกิดขึ้นจนเป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายหึงหวงขึ้นภายในองค์กรจนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย กรณีนี้นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ ตามคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ 5609/2542 ฉะนั้นในทัศนะของผมทำอย่างไร… “ดูเป็นเยี่ยง แต่อย่าเอาเป็นอย่าง” ครับ

คอลัมน์: กฎหมาย ไม่รู้ ไม่ได้ By…ชัชวัสส์ เศรษฐลักษมิ์
นิตยสาร: Amonth Thailand ฉบับที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ 2559