15 Nov อุ้มบุญอย่างไรไม่ผิดกฏหมาย?
หลายคนอยากมีลุก… แต่ติดปัญหาสภาพร่างกายไม่ดีมาตั้งแต่กำเนิด เครียดมาก กลัวลุกติดโรคทางกรรมพันธุ์ หรือไม่สามารถมีลุกได้เพราะเป็นหมัน หรือชายรักชายอยากมีลูก จ้างหญิงมาอุ้มท้องจนเป็นข่าวใหญ่โตที่ผ่านมา ซึ่งหลายคนคงรู้จัก และนึกถึงการมีลุกโดยวิธีการอุ้มบุญกัน อ่านต่อ….
การอุ้มบุญที่ถูกต้องตามกฏหมาย มีหลักเกณฑ์อย่างไร?
(พระราชบัญญัติคุ้มครองเด้กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจิญพันธุ์ทางการแพทย์ พศ 2558)
การอุ้มบุญ หรือการตั้งครรภ์แทนกัน คือ การตั้งครรภ์โดยอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ทางการแพทย์ในการช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์ด้วยการนำตัวอ่อนที่เกิดจากไข่ หรืออสุจิของสามีภริยากับไข่ หรืออสุจิคนอื่น (แต่ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน)นำมาเก็บไว้แล้ว นำเข้าไปใส่ในอวัยวะสืบพันธุ์ของหญิงอื่นเพื่อให้ตั้งครรภ์แทน โดยข้อกำหนดผู้ที่จะขอให้มีการอุ้มบุญนั้นมีเงื่อนไขต่างๆ
ใครสามารถขอให้มีการอุ้มบุญได้?
ตามกฎหมายแล้วนั้น : สามีภริยาที่มีสิทธิดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนจะต้องเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ สามีภริยาได้จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฏหมายที่เขตหรืออำเภอ และมีความพร้อมทางครอบครัวและปัจจัยในการดำรงชีพต่างๆที่ดีมีความเหมาะสมและเลี้ยงดูเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญได้ เป็นบิดามารดาของเด็กนั้นได้โดยไม่เกิดปัญหาในภายหลัง ดังนั้นหญิงโสด ชายโสด ชายหญิงที่อยู่กินฉันสามีภริยา และคู่รักเพศเดียวกัน จึงไม่มีสิทธิที่จะดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนตามกฏหมายได้
ใครสามารถตั้งครรภ์แทนได้?
ตามกฎหมายแล้วนั้น : หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนได้ (แม่อุ้มบุญ) จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
– ต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตในครอบครัวของทางฝ่ายสามีหรือภริยา แต่ต้องไม่ใช่บิดามารดา และลูกสืบสายโลหิต เว้นแต่ในกรณีที่ไม่มีญาติสืบสายโลหิต กฏหมายได้เปิดโอกาสให้หญิงอื่นเป็นผู้รับตั้งครรภ์แทนได้
– ต้องเคยมีบุตรมาก่อนแล้ว ถ้าหญิงนั้นมีสามีอยู่จะต้องได้รับความยินยอมจากสามีด้วยถึงจะตั้งครรภ์แทนได้
– ต้องไม่ใช่เจ้าของไข่ที่ให้กำเนิดตัวอ่อน เพื่อป้องกันความเชื่อมโยงทางพันธุกรรม และความรู้สึกผูกพันของผู้รับตั้งครรภ์แทนต่อเด็ก
เงื่อนไขข้อตกลง การตั้งครรภ์แทน ที่ควรรู้มีอย่างไรบ้าง?
ตามกฎหมายแล้วนั้น : ก่อนการตั้งครรภ์
– ต้องมีการตกลงเป็นหนังสือ ระหว่างหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนกับสามีภริยาที่ต้องการมีบุตร ว่าให้ทารกในครรภ์ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นบุตรของสามีภริยาที่ขอให้มีการอุ้มบุญ (มาตรา3)
– กฏหมายยังกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อตกลงการตั้งครรภ์แทนค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสุขภาพของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนในขณะตั้งครรภ์คลอด และรวมทั้งหลังคลอด (มาตรา24)
การทำข้อตกลงดังกล่าว จะต้องทำให้เกิดความชัดเจนในสิทธิหน้าที่ระหว่างคู่สามีภริยา และแม่อุ้มบุญ เพื่อป้องกันมิให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า (มาตรา23) หรือเกิดการต่อรองเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนโดยใช้ทารกในครรภ์เป็นประกัน รวมทั้งเป็นการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของเด็กและแม่อุ้มบุญด้วย ซึ่งสัญญาที่ทำขึ้นโดยขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดจะตกเป็นโมฆะในทันทีบังคับใช้ไม่ได้
ข้อห้ามเกี่ยวกับการอุ้มบุญ หรือตั้งครรภ์แทน มีอะไรบ้าง? (มาตรา23)
กฎหมายนี้กำหนดห้ามดำเนินการให้ตั้งครรภ์แทน เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจการค้า รวมถึงห้ามมิให้กระทำการเป็นนายหน้า คนกลาง โดยเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อเป็นการตอบแทนในการจัดการหรือชี้ช่องให้มีการรับตั้งครรภ์แทน (มาตรา26) และห้ามมิให้มีการโฆษณาว่ามีหญิงประสงค์จะรับตั้งครรภ์แทนผู้อื่น หรือมีบุคคลประสงค์จะให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน ไม่ว่าจะกระทำเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือไม่ก็ตาม (มาตรา27) ดังนั้น การรับจ้างอุ้มบุญ การเป็นนายหน้าจัดหาหญิง หรือสถานพยาบาลเพื่อทำการอุ้มบุญจึงเป็นความผิด และมีโทษทางอาญา
ใครเป็นบิดา และมารดาตามกฏหมายของเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญหรือตั้งครรภ์แทน?
กฏหมายแพ่งที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันก่อนจะมี พ.ร.บ เรื่องการอุ้มบุญบังคับใช้ ได้กำหนดให้หญิงที่ตั้งครรภ์และได้ให้กำเนิดเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฏหมายของเด็ก เด็กจึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของแม่อุ้มบุญ ส่วนสามีภริยาซึ่งต้องการมีบุตรทำได้เพียงรับเด้กเป็นบุตรบุญธรรม
แต่กฏหมายฉบับนี้ได้เปลี่ยนแปลงหลักการข้างต้น เฉพาะกรณีอุ้มบุญเท่านั้นโดยกำหนดให้เด็กที่เกิดจากอสุจิไข่ หรือตัวอ่อนของผู้บริจาคโดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของสามีและภริยาที่ประสงค์จะมีบุตรโดยใช้วิธีการอุ้มบุญ ไม่ว่าภริยาจะเป็นผู้ตั้งครรภ์เองหรือเป็นการตั้งครรภ์แทนโดยหญิงอื่น ผลก็คือเด็กที่คลอดจากครรภ์ของแม่อุ้มบุญจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายของสามีภริยา ซึ่งสามีภริยานั้นจะต้องเดินทางไปแจ้งเกิด ส่วนชาย หรือหญิงที่บริจาคอสุจิ หรือไข่ซึ่งนำมาใช้ปฎิสนธิเป็นตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์ หรือผู้บริจาคตัวอ่อน และเด็กที่เกิดจากอสุจิ หรือไข่ หรือตัวอ่อนที่บริจาคดังกล่าว ไม่มีสิทธิ และหน้าที่ระหว่างกันตามประมวลกกหมายแพ่ง และพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว และมรดก
ครอบครัวที่มีลูกเองได้อยู่แล้วสามารถขอให้มีการอุ้มบุญได้หรือไม่
ตามกฏหมายนี้มีความมุ่งหมายให้ใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาภาวะของการมีบุตรยาก หรือไม่สามารถมีบุตรได้ ดังนั้นในกรณีที่คู่สมรสสามารถมีบุตรได้ แต่ภริยาไม่ต้องการตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติ หรือคู่สมรสซึ่งต้องการมีบุตรจำนวนมากโดยมีจุดประสงค์ที่มิชอบหรือกรณีชาย หรือหญิงที่ไม่ได้สมรสแต่ต้องการมีบุตร ย่อมไม่อยู่ในขอบเขตของการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ตามกฏหมายฉบับนี้
ฉบับเดือน ธันวาคม 2558 (Vol.23 Issue 269 December 2015/ Page 116-118)